เมนู

อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ 10 - 12


3 สูตรมีสูตรที่ 10 เป็นต้น ตรัสด้วยอำนาจอัธยาศัยบุคคล
แผนกหนึ่งต่างหาก. เนื้อความแห่งสูตรเหล่านั้น พึงทราบโดยนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
จบ อรรถกถามิจฉาทิฏฐิสูตรที่ 10 - 12
จบ นันทิขยวรรคที่ 1


รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมนันทิขยสูตร 2.ทุติยนันทิขยสูตร 3. ตติยนันทิขยสูตร
4. จตุตถนันทิขยสูตร 5. ปฐมชีวกัมพวนสูตร 6. ทุติยชีวกัมพวนสูตร
7. ปฐมมหาโกฏฐิกสูตร 8. ทุติยมหาโกฏฐิกสูตร 9. ตติยมหาโกฏฐิกสูตร
10. มิจฉาทิฏฐิสูตร 11. สักกายทิฏฐิสูตร 12. อัตตานุทิฏฐิสูตร.

สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ 2



1. ปฐมฉันทสูตร


ว่าด้วยการละฉันทะในสิ่งที่ไม่เที่ยง


[257] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละฉันทะในจักษุนั้นเสีย
หูไม่เที่ยง จมูกไม่เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลาย
พึงละฉันทะในใจนั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอพึงละ
ฉันทะในสิ่งนั้นเสีย.
จบ ปฐมฉันทสูตรที่ 1

2. ปฐมราคสูตร


ว่าด้วยการละราคะในสิ่งที่ไม่เที่ยง


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง
นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สิ่งอะไรเล่าไม่เที่ยง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
จักษุไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในจักษุนั้นเสีย หูไม่เที่ยง จมูกไม่
เที่ยง ลิ้นไม่เที่ยง กายไม่เที่ยง ใจไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในใจ
นั้นเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่เที่ยง เธอทั้งหลายพึงละราคะในสิ่ง
นั้นเสีย.
จบ ราคสูตรที่ 2
1. สัฏฐิเปยยาลวรรคที่ 2 อรรถกถาแก้ไว้รวม ๆ กัน ท้ายวรรคนี้